วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

งานเดือนสิบ

ประเพณีวันสารทเดือนสิบ

ทำบุญเหอ ทำบุญวันสารท

ยกหฺมฺรับดับถาด ไปร้องไปฮา
พองลาหนมแห้ง ตุ้งแตงตุ๊กตา
ไปร้องไปฮา สวดเสดเวทนาเปรต เหอ

ประเพณีสารทเดือนสิบ
เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวภาคใต้โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราชเป็นประเพณีที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียและได้รับการปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
ประเพณีสารทเดือนสิบ
มีพื้นฐานมาจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ว่า
ในวันแรม1ค่ำเดือนสิบ พญายมจะปล่อย“เปรตจากนรกภูมิให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้องของตนในเมืองมนุษย์
และให้กลับขึ้นสู่นรกในวันแรม15ค่ำ เดือนสิบ โอกาสนี้ชาวบ้านจึงจัดให้มีกาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับพ่อแม่
ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว งานบุญนี้ถือว่าเป็นงานสำคัญวันหนึ่งวงศ์ตระกูล ในอันที่จะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาจิตต่อบรรพชน เป็นงานรวมญาติรวมความรักแสดงความสามัคคี
เป็นการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ ดังนั้นบรรดาญาติพี่น้อง
จากทั่วทุกสารทิศก็จะต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมเพื่อร่วมทำบุญในประเพณีที่สำคัญนี้
ความมุ่งหมายของประเพณีสารทเดือนสิบ
ประเพณีสารทเดือนสิบ มีความมุ่งหมายสำคัญอยู่ที่การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว แต่ด้วยเหตุที่วิถีชีวิตของชาวนครศรีธรรมราช
เป็นวิถีชีวิตแห่งพระพุทธศาสนาในสังคมเกษตรกรรม จึงมีความมุ่งหมายอื่นร่วมอยู่ด้วย

1) 
เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้กับพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้องหรือบุคคลอื่นผู้ล่วงลับไปแล้ว
2)
เป็นการทำบุญด้วยการเอาผลผลิตทางการเกษตรแปรรูปเป็นอาหารถวายพระสงฆ์รวมถึงการจัดหฺมฺรับถวายพระในลักษณะของ“สลากภัต”นอกจากนี้ยังถวายพระในรูปของผลผลิตที่ยังไม่แปรสภาพ เพื่อเป็นเสบียงแก่พระสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษาในฤดูฝน ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ครอบครัว และเพื่อผลในการประกอบอาชีต่อไป
3)เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความสนุกสนานรื่นเริงประจำปีเป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกประเพณีของชาวนคร แต่ประเพณีนี้มีชื่อเสียงมากที่สุด
ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทุก ๆ ปี เรียกว่า“งานเดือนสิบ”ซึ่งงานเดือนสิบนี้ได้จัดควบคู่กับประเพณีสารทเดือนสิบ มาตั้งแต่ พ..2466จนถึงปัจจุบัน
วิถีปฏิบัติ และพิธีกรรม
ในแต่ละท้องที่อาจมีพิธีกรรมและการปฏิบัติที่แตกต่างกันไปบ้าง
กล่าวคือ บางท้องถิ่นจะประกอบพิธีในวันแรม1ค่ำ
เดือนสิบ ครั้งหนึ่ง และประกอบพิธีในวันแรม13ค่ำ14ค่ำ15ค่ำ เดือน สิบ
อีกครั้งหนึ่ง สำหรับชาวนครนั้น หากประกอบพิธีในวันแรม1ค่ำ เดือนสิบ
จะเรียกว่า“วันหฺมฺรับเล็ก”ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยม ส่วนใหญ่จะนิยมประกอบพิธีในวันแรม13ค่ำ14ค่ำ15ค่ำ เดือน สิบ
ซึ่งเรียกว่า“วันหฺมฺรับใหญ่”ดังนั้น ประเพณีวันสารทเดือนสิบของนครศรีธรรมราช
จะมีวิถีปฏิบัติและพิธีกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองพอสรุปได้ดังนี้
1)การเตรียมการก่อนถึงวันสารทเดือนสิบ แต่ละครอบครัวจะเตรียมจัดหาข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้พร้อม ในอดีตจะมีธรรมเนียมการออกปากเคี่ยวน้ำมันมะพร้าว
เพื่อนำมาใช้ทำขนมประจำเทศกาลชนิดต่าง ๆ
แต่วิถีปัจจุบันได้เปลี่ยนไป
เพราะขนมประจำเทศกาลและข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ
มีการวางขายโดยทั่วไปการรวมกลุ่มแสดงพลังสามัคคีจึงเลือนหายไปกับความเจริญทางเศรษฐกิจหรือทางวัตถุ การเตรียมการในปัจจุบันจึงเป็นเพียงการหาซื้อข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้พร้อมเพื่อการจัดหฺมฺรับ
ซึ่งมักกระทำในวันแรม13ค่ำ เดือนสิบ โดยเรียกวันนี้ว่า“วันจ่าย”
2)การจัดหฺมฺรับเมื่อถึงวันแรม14ค่ำเดือนสิบ
ซึ่งเรียกกันว่า“วันหลองหฺมฺรับ”แต่ละครอบครัวจะร่วมกันนำข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ มาจัดเป็นหฺมฺรับ
(สำรับ ที่ใช้ในการใส่ของทำบุญ)
ในการจัดหฺมฺรับนั้นไม่มีรูปแบบที่แน่นอน จะจัดเป็นรูปแบบใดก็ได้ แต่ลำดับการจัดของลงหฺมฺรับจะเหมือน ๆ กัน
คือ เริ่มต้นจะนำกระบุง กระจาด ถาด หรือกะละมัง
มาเป็นภาชนะ แล้วรองก้นด้วยข้าวสาร ตามด้วยหอม กระเทียม
พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล และเครื่องปรุงอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ ต่อไปก็ใส่ของจำพวกอาหารแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม
และผักผลไม้ที่เก็บไว้ได้นาน ๆ เช่น ฟักเขียว ฟักทอง มะพร้าว
ขมิ้น มัน ลางสาด เงาะ ลองกอง กล้วย อ้อย ข้าวโพด ข่า
ตะไคร้ ฯลฯ จากนั้นก็ใส่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ไต้
น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าด ไม้ขีด หม้อ กระทะ ถ้วยชาม
เข็ม ด้าย และเครื่องเซี่ยนหมากสุดท้ายก็ใส่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการจัดหฺมฺรับ
คือ ขน5อย่าง ( บางท่านบอกว่า6อย่าง ) ซึ่งขนมแต่ละอย่างล้วนมีความหมายในตัวเอง คือขนมพองเป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับผู้ล่วงลับใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพ
ขนมลาแทนเครื่องนุ่งห่มแพรพรรณขนมกงหรือขนมไข่ปลาแทนเครื่องประดับขนมดีซำแทนเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย
ขนมบ้าแทนสะบ้าใช้เล่น ในกรณีที่มีขนม6อย่าง
ก็จะมีขนมลาลอยมันซึ่งใช้แทนฟูกหมอน รวมอยู่ด้วย
นอกจากนี้ยังมีการจัดเครื่องเล่นและของใช้ต่าง ๆ ที่ผู้ตายเคยชอบจัดลงหฺมฺรับไปด้วย เช่น หากผู้ตายชอบไก่ชนก็จะใส่ตุ๊กตาไก่ชนใส่ลงไปด้วย โดยเชื่อว่าผู้จัดจะได้รับอานิสงส์มากยิ่งขึ้น
3)การยกหฺมฺรับในวันแรม15ค่ำ เดือนสิบ
ซึ่งเป็นวันยกหฺมฺรับ ต่างก็จะนำหฺมฺรับพร้อมภัตตาหารไปวัด โดยแต่ละคนจะแต่งตัวอย่างสะอาดและสวยงาม
เพราะถือเป็นการทำบุญครั้งสำคัญ วัดที่ไปมักจะเป็นวัดใกล้บ้านหรือวัดที่ตนศรัทธา การยกหฺมฺรับไปวัดอาจต่างครอบครัวต่างไป
หรืออาจจัดเป็นขบวนแห่ ทั้งนี้เพื่อต้องการความสนุกสนานรื่นเริงด้วย วัดบางแห่งอาจจะจัดให้มีการประกวดหฺมฺรับอย่างยิ่งใหญ่ตระการตาในงานเดือนสิบซึ่งในช่วงนี้สามารถจูงใจนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวประชาสัมพันธ์หมู่บ้านไปในตัว
เมื่อขบวนแห่หฺมฺรับมาถึงวัดแล้ว ก็จะร่วมกันถวายภัตตาหารแก่ภิกษุสงฆ์ เสร็จแล้วจะร่วมกัน
ตั้งเปรต”เพื่อแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ในอดีตมักตั้งเปรตบริเวณโคนต้นไม้หรือบริเวณกำแพงวัด
แต่ปัจจุบันนิยมตั้งบน“หลาเปรต”
โดยอาหารที่จะตั้งนั้นจะเป็นขนมทั้ง 5 หรือ 6 อย่างดังกล่าวข้างต้น รวมถึงอาหารอื่น ๆ ที่บรรพชนชอบ ตั้งเปรตเสร็จแล้ว
พระสงฆ์จะสวดบังสุกุล โดยจับสายสิญจน์ที่ผูกไว้กับหลาเปรต เมื่อพิธีสงฆ์เสร็จสิ้น ผู้คนจะร่วมกัน“ชิงเปรต”
โดยการแย่งชิงอาหารบนหลาเปรต ทั้งนี้นอกจากเพื่อความสนุกสนานแล้วยังมีความเชื่อว่า หากใครได้กินอาหารบนหลาเปรตจะได้รับกุศลแรง
เป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว สิ่งนี้อาจเป็นอุบายแสดงให้เป็นรายกับว่ามีเปรตมากินอาหารจริง ๆ เพื่อให้ลูกหลานได้เห็นว่าเปรตมีลักษณะตัวตนเป็นอย่างไร
จะได้มีทำบาปกรรมใด ๆ ตายไปจะได้ไม่ต้องลำบาก
ให้ทำแต่กรรมดี ทำบุญกุศล
ตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์ ไม่ต้องตกนรกเหมือนเปรตต่าง ๆ เมื่อเสร็จสิ้นการชิงเปรตต่างก็แยกย้ายกลับบ้านด้วยใจอิ่มบุญ





วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

orchid


กล้วยไม้

กล้วยไม้ หรือ เอื้อง เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีประมาณ 880 สกุล และประมาณ 22,000 ชนิดที่มีการยอมรับ(อาจมากกว่า 25,000 ชนิด)[1] คิดเป็น 6–11% ของพืชมีเมล็ด[2] มีการค้นพบราวๆ 800 ชนิดทุกๆปี มีสกุลใหญ่ๆคือ Bulbophyllum (2,000 ชนิด), Epidendrum (1,500 ชนิด), Dendrobium (1,400 ชนิด) และ Pleurothallis(1,000 ชนิด) สายพันธุ์ของกล้วยไม้ที่ขึ้นและเติบโตในป่าเรียกว่า กล้วยไม้ป่า
กล้วยไม้จัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ มีลักษณะการเติบโตแบบต่างๆ ได้แก่
  • กล้วยไม้อากาศ คือ กล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น โดยมีรากเกาะอยู่กับกิ่งไม้หรือลำต้น
  • กล้วยไม้ดิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรีย์วัตถุ
  • กล้วยไม้หิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นตามโขดหิน

การจำแนกวงศ์ย่อยของกล้วยไม้

วงศ์ย่อยต่างๆ ของกล้วยไม้ ได้แก่
  • APOSTASIOIDEAE Rchb. f. เป็นกลุ่มไม้ที่เติบโตบนพื้นดินในป่า มี 2 สกุล คือ Apostasia และ Neuwiedia
  • CYPRIPEDIOIDEAE Lindley เป็นกลุ่มไม้ที่เกิดบนพื้นดิน โขดหิน และบนซากอินทรีย์วัตถุ มี 4 สกุล คือ CypripediumPaphiopedilum (สกุลรองเท้านารี) , Phragmipedium และ Selenipedium
  • SPIRANTHOIDEAE Dressler ไม่พบกล้วยไม้ไทย และลูกผสมไทยที่เกิดในวงศ์ย่อยนี้
  • ORCHIDOIDEAE ไม่พบในไทย
  • EPIDENDROIDEAE วงศ์ย่อยนี้มีความหลากหลายด้านที่อยู่อาศัย และรูปร่างลักษณะ มีหลายสกุลในวงศ์นี้ที่พบ และนิยมปลูกในประเทศไทย ได้แก่ สกุล Vanilla สกุลต่างๆ ในกลุ่มแคทลียา สกุลหวาย และสกุลสิงโตกลอกตา
  • VANDOIDEAE Endlicher ได้แก่ กลุ่มแวนด้า 
พืชในวงศ์กล้วยไม้นั้นสามารถพบได้ทั่วโลก มีถิ่นอาศัยในหลายๆภูมิประเทศยกเว้นทะเลทรายและธารน้ำแข็ง โดยส่วนมากจะพบในเขตร้อนของโลก คือเอเชียอเมริกาใต้ และอเมริกากลาง นอกจากนั้นยังพบเหนืออาร์กติก เซอร์เคิลในตอนใต้ของพาทาโกเนียและยังพบบนเกาะแมคควารี ซึ่งใกล้กับทวีปแอนตาร์กติกา

การกระจายพันธุ์

การกระจายพันธุ์โดยสังเขปมีดังนี้:
  • อเมริกาเขตร้อน: 250 - 270 สกุล
  • เอเชียเขตร้อน: 260 - 300 สกุล
  • แอฟริกาเขตร้อน: 230 - 270 สกุล
  • โอเชียเนีย: 50 - 70 สกุล
  • ยุโรปและเอเชียเขตอบอุ่น: 40 - 60 สกุล
  • อเมริกาเหนือ: 20 - 25 สกุล

อนุกรมวิธาน

ในระบบ APG II (2003) พืชวงศ์นี้ถูกจัดอยู่ในอันดับ Asparagales ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ห้าวงศ์ย่อยที่ได้รับการยอมรับ แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์นี้แยกตามระบบของ APG :


Apostasioideae: 2 สกุล 16 ชนิด, เอเชียตะวันตกเฉียงใต้



Cypripedioideae: 5 สกุล 130 ชนิด, เขตอบอุ่นอย่างอเมริกาเขตร้อน และเอเชียเขตร้อน

 Monandrae 

Vanilloideae: 15 สกุล 180 ชนิด, เขตร้อนชื้นและพื้นที่ใกล้เขตร้อน, ทางตะวันออกของอเมริกาเหนือ



Epidendroideae: มากกว่า 500 สกุล ประมาณ 20,000 ชนิด, พบทั่วโลก


Orchidoideae: 208 สกุล 3,630 ชนิด, พบทั่วโลก





ประวัติกล้วยไม้

           กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้า ประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จน กระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็น อาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของ กล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงาม ของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้ายไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ไกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวัน ตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดา ข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ ที่หายากและมีราคาแพง
หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี 2475 สภาพการเลี้ยงก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้น ให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการ กล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัด ต่างๆ ในปี 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวง แคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ใน ประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต ปี 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วย ไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ปี 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา.

อ้างอิง